การรับแจ้งการเกิด กรณีเกิดในบ้าน และเกิดนอกบ้าน
สถานที่ติดต่อ
ต่างจังหวัด
- สำนักทะเบียนอำเภอ
- สำนักทะเบียนท้องถิ่น
เอกสาร/หลักฐานที่ใช้
1. บัตรประจำตัวของผู้แจ้ง และบัตรประจำตัวประชาชนของบิดา มารดา (ถ้ามี)
ฉบับจริง 1 ฉบับ
2. สำเนาทะเบียนบ้าน หรือสำเนาทะเบียนประวัติของบิดา มารดา (ถ้ามี)
3. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
ฉบับจริง 1 ฉบับ
หมายเหตุ (ที่จะขอเพิ่มชื่อเด็กที่เกิด กรณีเป็นคนในท้องที่)
4. หนังสือรับรองการเกิด ตามแบบ ท.ร. 1/1
ฉบับจริง 1 ฉบับ
หมายเหตุ (ที่ออกให้โดยโรงพยาบาลที่เด็กเกิด เป็นกรณีเด็กที่เกิดในสถานพยาบาล)
5. ใบรับแจ้งการเกิดตามแบบ ท.ร. 1 ตอนหน้า
ฉบับจริง 1 ฉบับ
หมายเหตุ (กรณีแจ้งเกิดกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และเด็กเกิดในบ้าน)
6. หนังสือมอบหมาย (ถ้ามี)
ฉบับจริง 1 ฉบับ
หมายเหตุ (กรณีมอบให้บุคคลอื่นเป็นผู้แจ้ง)
ค่าธรรมเนียม
-
ระยะเวลา
20 นาที
หมายเหตุ
1. ผู้แจ้งได้แก่
1.1 กรณีเกิดในบ้าน บิดา หรือมารดา หรือเจ้าบ้านที่เด็กเกิด หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากบิดา มารดา หรือเจ้าบ้าน
1.2 กรณีเกิดนอกบ้าน บิดา หรือมารดา หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากบิดา หรือมารดา
2. ระยะเวลาการแจ้ง ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่เด็กเกิด
3. เงื่อนไข
(1)การพิจารณาการได้สัญชาติของบุตร กรณีที่มารดาเป็นคนต่างด้าว และบิดาเป็นคนไทย ต้องดำเนินการสอบสวนพยานบุคคล เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงว่าบิดาเป็นบุคคลสัญชาติไทย ใช้เวลา 1 วัน
(2) กรณีมีเหตุอันควรสงสัยว่าการแจ้งเป็นไปโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ระเบียบ หรือโดยอำพราง หรือโดยมีรายการข้อความผิดจากความเป็นจริง ให้นายทะเบียนดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง สอบสวนพยานบุคคล พยานแวดล้อม และพิจารณาให้แล้วเสร็จ ภายใน 7 วัน
(3) กรณีที่มีความซับซ้อนหรือข้อสงสัยในแนวทางการปฏิบัติ ข้อกฎหมาย หรือการตรวจสอบเอกสารสำคัญ ต้องดำเนินการหารือมายังสำนักทะเบียนกลาง ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน (ทั้งนี้ การหารือต้องส่งให้สำนักทะเบียนกลาง ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่รับเรื่อง) โดยส่งผ่านสำนักทะเบียนจังหวัด เพื่อส่งให้สำนักทะเบียนกลาง เพื่อตอบข้อหารือดังกล่าวต่อไป