การขอแปลงสัญชาติเป็นไทยของคนต่างด้าวทั่วไป (N)

สถานที่ติดต่อ

กองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจสันติบาล           
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ อาคาร 24  เขตปทุมวัน กรุงเทพ 10330 โทร. 0-2252-1714,0-2252-2708,0-2205-1901
(กรณีมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพฯ) /ติดต่อด้วยตนเอง ณ หน่วยงาน
(หมายเหตุ: -)

ตำรวจภูธรจังหวัด ทุกจังหวัด          
(กรณีมีภูมิลำเนาอยู่ในต่างจังหวัด)   
/ติดต่อด้วยตนเอง ณ หน่วยงาน
(หมายเหตุ: -)

เอกสาร/หลักฐานที่ใช้

1.บัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย
   ฉบับจริง
1 ฉบับ
   สำเนา 5 ฉบับ
   หมายเหตุ (ถ้ามี)

2.ทะเบียนบ้านคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (ทร.13/ทร.14)
   ฉบับจริง
1 ฉบับ
   สำเนา 5 ฉบับ
   หมายเหตุ -

3.ใบสำคัญถิ่นที่อยู่/ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว สำเนาหนังสือ เดินทางในกรณีได้รับอนุญาตให้อยู่ใน ราชอาณาจักรไทยชั่วคราว        
   ฉบับจริง
0 ฉบับ
   สำเนา 5 ฉบับ
   หมายเหตุ (ทุกหน้าที่มีการบันทึกรายการ)

4.ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อ
   ฉบับจริง
1 ฉบับ
   สำเนา 2 ฉบับ
   หมายเหตุ -

5.ทะเบียนการสมรส หากจดทะเบียนสมรสที่สถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ ต้องนำใบสำคัญการจดทะเบียนสมรส ที่สถานที่นั้น ๆ ออกให้รับรองว่าถูกต้อง
   ฉบับจริง
0 ฉบับ
   สำเนา 2 ฉบับ
   หมายเหตุ -

6.หนังสือเดินทาง
   ฉบับจริง
1 ฉบับ
   สำเนา 5 ฉบับ
   หมายเหตุ -

7.สูติบัตร
   ฉบับจริง
1 ฉบับ
   สำเนา 2 ฉบับ
   หมายเหตุ -

8.หนังสือรับรองบรรลุนิติภาวะ
   ฉบับจริง
0 ฉบับ
   สำเนา 1 ฉบับ
   หมายเหตุ -

9.รูปถ่ายขนาด 4 x 6 ซ.ม. จำนวน 3 รูป
   ฉบับจริง
0 ฉบับ
   สำเนา 0 ฉบับ
   หมายเหตุ (กรณีมีคู่สมรสรูปถ่ายขนาด 4 x 6 ซ.ม. จำนวน 3 รูป)

10.หนังสือรับรองการประกอบอาชีพ
    ฉบับจริง
0 ฉบับ
    สำเนา 2 ฉบับ
    หมายเหตุ (จากสำนักบริหารแรงงานต่างด้าวหรือสำนักงานจัดหางานจังหวัด)

11.หนังสือรับรองเงินเดือน
     ฉบับจริง
1 ฉบับ
     สำเนา 1 ฉบับ
     หมายเหตุ -

12.หลักฐานการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
     ฉบับจริง
1 ฉบับ
     สำเนา 0 ฉบับ
     หมายเหตุ (แสดงหลักฐานการเสียภาษีมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี โดยมีเจ้าหน้าที่ของกรมสรรพากรให้การรับรอง)

13.หลักฐานเงินฝากธนาคาร หรือหนังสือรับรองเงินฝาก
     ฉบับจริง
0 ฉบับ
     สำเนา 1 ฉบับ
     หมายเหตุ (ถ้ามี)

14.หลักฐานการบริจาคการกุศลสาธารณประโยชน์ (ไม่ควรน้อยกว่า 5,000 บาท)
     ฉบับจริง
0 ฉบับ
     สำเนา 1 ฉบับ
     หมายเหตุ (ถ้ามี)

15.หลักฐานของบริษัท ห้างร้านที่ผู้ยื่นคำขอทำงานอยู่
      ฉบับจริง
0 ฉบับ
      สำเนา 1 ฉบับ
      หมายเหตุ -

16.ภาษีนิติบุคคล (ภงด 50)
     ฉบับจริง
0 ฉบับ
     สำเนา 1 ฉบับ
     หมายเหตุ (กรณีผู้ยื่นคำขอมีหุ้นอยู่ในบริษัทหรือห้างร้าน(ย้อนหลังไป1ปี) ถ้ามี)

17.หลักฐานการศึกษาของผู้ยื่นคำขอและบุตรทุกคน
     ฉบับจริง
0 ฉบับ
     สำเนา 1 ฉบับ
     หมายเหตุ (ถ้ามี)

18.หนังสือแสดงเจตนาสละสัญชาติเดิม
     ฉบับจริง
1 ฉบับ
     สำเนา 0 ฉบับ
     หมายเหตุ -

ค่าธรรมเนียม

1.คำขอแปลงสัญชาติเป็นไทย   ค่าธรรมเนียม 5,000 บาท
   (หมายเหตุ: -)
2.คำขอแปลงสัญชาติเป็นไทยสำหรับบุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะของผู้แปลง    ค่าธรรมเนียม 2,500 บาท
   (หมายเหตุ: -)
3.หนังสือสำคัญการแปลงสัญชาติเป็นไทย  ค่าธรรมเนียม 500 บาท  
    (หมายเหตุ: -)
4.ใบแทนหนังสือสำคัญการแปลงสัญชาติเป็นไทย   ค่าธรรมเนียม 500 บาท
   (หมายเหตุ: -)

ระยะเวลา

ระยะเวลาในการดำเนินการรวม : 730 วัน

หมายเหตุ

หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข (ถ้ามี) ในการยื่นคำขอ และในการพิจารณาอนุญาต

การได้สัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติเป็นไทย เป็นไปตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 และมาตรา 11, 12 และ 12/1 แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 กำหนดให้คนต่างด้าวที่อาจขอแปลงสัญชาติเป็นไทย แบ่งได้ดังนี้
1) คนต่างด้าวที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามมาตรา 10
2) คนต่างด้าวที่อยู่ภายใต้เงื่อนไข มาตรา 11
3) คนต่างด้าวที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ และมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย ตามมาตรา 12 วรรคสอง
4) คนต่างด้าวที่อยู่ภายใต้เงื่อนไข มาตรา 12/1

วิธีการในการขอแปลงสัญชาติเป็นไทย กำหนดในมาตรา 12 วรรคหนึ่ง กล่าวคือ ผู้ประสงค์จะขอแปลงสัญชาติเป็นไทย ให้ยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง(พ.ศ. 2510) ออกตามความในพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ลงวันที่ 10 พฤษภาคม 2510 กำหนดการยื่นคำขอแปลงสัญชาติเป็นไทย ต้องยื่นคำขอตามแบบ ป.ช.1 พร้อมด้วยหลักฐานประกอบคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยผู้ยื่นคำขอที่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพฯ ให้ยื่นคำขอต่อผู้บัญชาการตำรวจสันติบาล กองบัญชาการตำรวจสันติบาล หากผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดอื่นให้ยื่นคำขอต่อผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนั้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2510 เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508
กรณีการขอแปลงสัญชาติเป็นไทย ตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508
1. บรรลุนิติภาวะแล้วตามกฎหมายไทยและกฎหมายที่บุคคลนั้นมีสัญชาติ
2. มีความประพฤติดี โดยจะต้องผ่านการตรวจสอบประวัติอาชญากรรม (พิมพ์ลายนิ้วมือ ส่งตรวจสอบ) พฤติการณ์ทางการเมือง ยาเสพติด และพฤติการณ์เกี่ยวกับความมั่นคงของชาติจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
2.1 ตรวจสอบประวัติอาชญากรรม (โดยพิมพ์ลายนิ้วมือส่งตรวจสอบ) จากกองทะเบียนประวัติอาชญากร
2.2 ตรวจสอบพฤติการณ์บุคคลและทางการเมืองจากกองบัญชาการตำรวจสันติบาล
2.3 ตรวจสอบพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษจากกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด

2.4 ตรวจสอบพฤติการณ์เกี่ยวกับความมั่นคงของชาติจากสำนักข่าวกรองแห่งชาติ

2.5 ตรวจสอบหมายจับจากกองการต่างประเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
3. มีอาชีพเป็นหลักฐาน โดยจะต้องมีหนังสือรับรองการประกอบอาชีพจากสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว หรือสำนักจัดหางานจังหวัด และจะต้องมีรายได้ไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ดังนี้
3.1 กรณีผู้ขอแปลงสัญชาติเป็นไทยไม่มีความเกี่ยวพันหรือสัมพันธ์กับประเทศไทย
ผู้ยื่นคำขอเป็นคนต่างด้าวทั่วไป จะต้องมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 80,000 บาท/เดือน โดยแสดงหนังสือรับรองเงินเดือน/รายได้เป็นหลักฐาน และแสดงหลักฐานการเสียภาษีมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี หรือแสดงหลักฐานการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในรอบปีก่อนปีที่ยื่นคำขอแปลงสัญชาติเป็นไทย ตั้งแต่ 100,000 บาทขึ้นไป ไม่น้อยกว่า 3 ปี และต้องมีหนังสือรับรองเงินเดือน/รายได้ มาแสดงประกอบด้วย
3.2 กรณีผู้ขอแปลงสัญชาติเป็นไทยมีความเกี่ยวพันหรือสัมพันธ์กับประเทศไทย เช่น สมรสกับบุคคลผู้มีสัญชาติไทย หรือมีบุตรเป็นบุคคลสัญชาติไทย หรือจบการศึกษาในระดับอุดมศึกษาจากสถาบันการศึกษาในประเทศไทย
ผู้ยื่นคำขอเป็นคนต่างด้าวทั่วไป จะต้องมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 40,000 บาท/เดือน โดยแสดงหนังสือรับรองเงินเดือน/รายได้เป็นหลักฐาน และแสดงหลักฐานการเสียภาษีมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี หรือแสดงหลักฐานการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในรอบปีก่อนปีที่ยื่นคำขอแปลงสัญชาติเป็นไทย ตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป ไม่น้อยกว่า 3 ปี และต้องมีหนังสือรับรองเงินเดือน/รายได้ มาแสดงประกอบด้วย
4. เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้เข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง โดยแสดงหลักฐานใบสำคัญถิ่นที่อยู่ หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือหลักฐานทางทะเบียนราษฎร (ท.ร.14)
5. มีภูมิลำเนาในราชอาณาจักรไทยต่อเนื่องมาจนถึงวันที่ยื่นคำขอแปลงสัญชาติเป็นไทยไม่น้อยกว่า 5 ปี โดยนับจากการได้รับใบสำคัญถิ่นที่อยู่ หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือหลักฐานทางทะเบียนราษฎร (ท.ร.14) ที่แสดงยืนยันได้ว่า มีภูมิลำเนาต่อเนื่องในประเทศไทยเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี
6. มีความรู้ภาษาไทยตามที่กำหนดในกฎกระทรวง โดยพูดภาษาไทยและฟังภาษาไทยเข้าใจได้ และจะต้องสามารถร้องเพลงชาติไทย และเพลงสรรเสริญพระบารมีได้ พร้อมทั้งผ่านการสัมภาษณ์ ดังนี้
6.1 กรณีผู้ยื่นคำขอที่มีภูมิลำเนาในกรุงเทพฯ ให้ผ่านการสัมภาษณ์จากคณะอนุกรรมการกลั่นกรองการขอแปลงสัญชาติเป็นไทย การขอถือสัญชาติไทยตามสามี และการขอกลับคืนสัญชาติไทย ตามคำสั่งคณะกรรมการกลั่นกรองเกี่ยวกับสัญชาติ
6.2 กรณีผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาในต่างจังหวัดให้ผ่านการสัมภาษณ์จากคณะทำงานสัมภาษณ์ สังเกตพฤติการณ์ และทดสอบความรู้ภาษาไทยแก่ผู้ยื่นคำขอที่มีภูมิลำเนาในต่างจังหวัด ตามคำสั่งคณะอนุกรรมการกลั่นกรอง การขอแปลงสัญชาติเป็นไทย การขอถือสัญชาติไทยตามสามีและการขอกลับคืนสัญชาติไทย
7. ผู้ยื่นคำขอจะต้องแสดงเอกสารที่ยื่นต่อสถานทูตหรือสถานกงสุลของประเทศที่ตนมีสัญชาติ และตั้งอยู่ในประเทศไทยอันเป็นการแสดงเจตนาของผู้ประสงค์จะขอแปลงสัญชาติเป็นไทยที่จะสละสัญชาติเดิม เมื่อได้รับอนุญาตให้แปลงสัญชาติเป็นไทยแล้ว
8. ผู้ยื่นคำขอจะต้องผ่านเกณฑ์การให้คะแนน รวมกันไม่น้อยกว่า 50 คะแนน จึงจะได้รับการพิจารณา
9. เมื่อผู้ยื่นคำขอได้รับอนุญาตให้แปลงสัญชาติเป็นไทยแล้ว กรณีประเทศของผู้ยื่นคำขอมีสถานทูตหรือสถานกงสุลตั้งอยู่ในประเทศไทย ให้กระทรวงมหาดไทยแจ้งสถานทูตหรือสถานกงสุลแห่งประเทศของผู้ยื่นคำขอทราบเกี่ยวกับการได้สัญชาติไทย ส่วนกรณีประเทศของผู้ยื่นคำขอไม่มีสถานทูตหรือสถานกงสุลตั้งอยู่ในประเทศไทย ให้กระทรวงมหาดไทยแจ้งกระทรวงการต่างประเทศดำเนินการแจ้งไปยังประเทศของผู้ยื่นคำขอเกี่ยวกับการได้สัญชาติไทยดังกล่าว
กรณีการขอแปลงสัญชาติเป็นไทย ตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 แก้ไขเพิ่มเติมโดยโดยพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551
1. บรรลุนิติภาวะแล้วตามกฎหมายไทยและกฎหมายที่บุคคลนั้นมีสัญชาติ
2. มีความประพฤติดี โดยจะต้องผ่านการตรวจสอบประวัติอาชญากรรม (พิมพ์ลายนิ้วมือ ส่งตรวจสอบ) พฤติการณ์ทางการเมือง ยาเสพติด และพฤติการณ์เกี่ยวกับความมั่นคงของชาติจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
2.1 ตรวจสอบประวัติอาชญากรรม (โดยพิมพ์ลายนิ้วมือส่งตรวจสอบ) จากกองทะเบียนประวัติอาชญากร
2.2 ตรวจสอบพฤติการณ์บุคคลและทางการเมืองจากกองบัญชาการตำรวจสันติบาล
2.3 ตรวจสอบพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษจากกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด

2.4 ตรวจสอบพฤติการณ์เกี่ยวกับความมั่นคงของชาติจากสำนักข่าวกรองแห่งชาติ

2.5 ตรวจสอบหมายจับจากกองการต่างประเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
3. มีอาชีพเป็นหลักฐาน โดยจะต้องมีหนังสือรับรองการประกอบอาชีพจากสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว หรือสำนักจัดหางานจังหวัด และจะต้องมีรายได้ไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ดังนี้
3.1 กรณีผู้ขอแปลงสัญชาติเป็นไทยไม่มีความเกี่ยวพันหรือสัมพันธ์กับประเทศไทย
ผู้ยื่นคำขอเป็นคนต่างด้าวทั่วไป จะต้องมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 80,000 บาท/เดือน โดยแสดงหนังสือรับรองเงินเดือน/รายได้เป็นหลักฐาน และแสดงหลักฐานการเสียภาษีมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี หรือแสดงหลักฐานการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในรอบปีก่อนปีที่ยื่นคำขอแปลงสัญชาติเป็นไทย ตั้งแต่ 100,000 บาทขึ้นไป ไม่น้อยกว่า 3ปี และต้องมีหนังสือรับรองเงินเดือน/รายได้ มาแสดงประกอบด้วย
3.2 กรณีผู้ขอแปลงสัญชาติเป็นไทยมีความเกี่ยวพันหรือสัมพันธ์กับประเทศไทย เช่น สมรสกับบุคคลผู้มีสัญชาติไทย หรือมีบุตรเป็นบุคคลสัญชาติไทย หรือจบการศึกษาในระดับอุดมศึกษาจากสถาบันการศึกษาในประเทศไทย
ผู้ยื่นคำขอเป็นคนต่างด้าวทั่วไป จะต้องมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 40,000 บาท/เดือน โดยแสดงหนังสือรับรองเงินเดือน/รายได้เป็นหลักฐาน และแสดงหลักฐานการเสียภาษีมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี หรือแสดงหลักฐานการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในรอบปีก่อนปีที่ยื่นคำขอแปลงสัญชาติเป็นไทย ตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป ไม่น้อยกว่า 3 ปี และต้องมีหนังสือรับรองเงินเดือน/รายได้ มาแสดงประกอบด้วย
4. การยื่นคำขอแปลงสัญชาติเป็นไทย กรณีได้กระทำความดีความชอบเป็นพิเศษต่อประเทศไทย หรือได้ทำคุณประโยชน์แก่ทางราชการซึ่งรัฐมนตรีเห็นสมควร นอกจากแสดงหลักฐานยืนยันคุณสมบัติตามกฎหมายแล้ว ให้แสดงเอกสารหลักฐานการกระทำความดีความชอบเป็นพิเศษต่อประเทศไทย หรือการได้ทำคุณประโยชน์แก่ทางราชการมาประกอบในคราวเดียวกัน
5. การยื่นคำขอแปลงสัญชาติเป็นไทย กรณีเป็นบุตรของผู้ซึ่งได้แปลงสัญชาติเป็นไทย หรือของผู้ได้กลับคืนสัญชาติไทย ต้องแสดงหลักฐานสูติบัตรของบุตร พร้อมหลักฐานจากสถานพยาบาลที่บุตรนั้นเกิด สำหรับกรณีไม่อาจแสดงหลักฐานดังกล่าวได้ ต้องแสดงเอกสารการตรวจสารพันธุกรรม (DNA) หรือการตรวจทางวิทยาศาสตร์อื่น ๆ ที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐ หรือสถาบันที่รัฐให้การรับรองซึ่งพิสูจน์ว่าเป็นบุตรจริง
6. การยื่นคำขอแปลงสัญชาติเป็นไทย กรณีเป็นภริยาหรือสามีของผู้ซึ่งได้แปลงสัญชาติเป็นไทย ผู้ยื่นคำขอจะต้องจดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมายมาไม่น้อยกว่า 5 ปี นับถึงวันที่ยื่นคำขอ ส่วนกรณีมีบุตรด้วยกันแล้ว จะต้องจดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมายมาไม่น้อยกว่า 3 ปี โดยผ่านการตรวจสอบสถานภาพการสมรส จากสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง นอกจากนี้ผู้ยื่นคำขอและคู่สมรสจะต้องไม่จดทะเบียนสมรสโดยปกปิดข้อเท็จจริง โดยผ่านการสัมภาษณ์เพื่อสอบถามเจตนารมณ์และสังเกตพฤติการณ์ของคู่สมรส ดังนี้
6.1 กรณีผู้ยื่นคำขอที่มีภูมิลำเนาในกรุงเทพฯ ให้ผ่านการสัมภาษณ์จากคณะอนุกรรมการกลั่นกรองการขอแปลงสัญชาติเป็นไทย การขอถือสัญชาติไทยตามสามี และการขอกลับคืนสัญชาติไทย ตามคำสั่งคณะกรรมการกลั่นกรองเกี่ยวกับสัญชาติ
6.2 กรณีผู้ยื่นคำขอที่มีภูมิลำเนาในต่างจังหวัดให้ผ่านการสัมภาษณ์จากคณะทำงานสัมภาษณ์ สังเกตพฤติการณ์ และทดสอบความรู้ภาษาไทยแก่ผู้ยื่นคำขอที่มีภูมิลำเนาในต่างจังหวัด ตามคำสั่งคณะอนุกรรมการกลั่นกรองการขอแปลงสัญชาติเป็นไทย การขอถือสัญชาติไทยตามสามี และการขอกลับคืนสัญชาติไทย
7. การยื่นคำขอแปลงสัญชาติเป็นไทย กรณีเป็นภริยาหรือสามีของผู้ได้กลับคืนสัญชาติไทย ผู้ยื่นคำขอจะต้องจดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมายมาไม่น้อยกว่า 3 ปี นับถึงวันที่ยื่นคำขอ ส่วนกรณีมีบุตรด้วยกันแล้ว จะต้องจดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมายมาไม่น้อยกว่า 1 ปี โดยผ่านการตรวจสอบสถานภาพการสมรสจากสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง นอกจากนี้ผู้ยื่นคำขอและคู่สมรสจะต้องไม่จดทะเบียนสมรสโดยปกปิดข้อเท็จจริง โดยผ่านการสัมภาษณ์เพื่อสอบถามเจตนารมณ์และสังเกตพฤติการณ์ของคู่สมรส ดังนี้
7.1 กรณีผู้ยื่นคำขอที่มีภูมิลำเนาในกรุงเทพฯ ให้ผ่านการสัมภาษณ์จากคณะอนุกรรมการกลั่นกรองการขอแปลงสัญชาติเป็นไทย การขอถือสัญชาติไทยตามสามี และการขอกลับคืนสัญชาติไทย ตามคำสั่งคณะกรรมการกลั่นกรองเกี่ยวกับสัญชาติ
7.2 กรณีผู้ยื่นคำขอที่มีภูมิลำเนาในต่างจังหวัด ให้ผ่านการสัมภาษณ์จากคณะทำงานสัมภาษณ์ สังเกตพฤติการณ์ และทดสอบความรู้ภาษาไทยแก่ผู้ยื่นคำขอที่มีภูมิลำเนาในต่างจังหวัด ตามคำสั่งคณะอนุกรรมการกลั่นกรองการขอแปลงสัญชาติเป็นไทย การขอถือสัญชาติไทยตามสามี และการขอกลับคืนสัญชาติไทย
8. การยื่นคำขอแปลงสัญชาติเป็นไทย กรณีเป็นสามีของผู้มีสัญชาติไทย ผู้ยื่นคำขอจะต้องจดทะเบียนสมรสกับผู้มีสัญชาติไทยมาไม่น้อยกว่า 3 ปี นับถึงวันที่ยื่นคำขอ ส่วนกรณีมีบุตรด้วยกันแล้ว จะต้องจดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมายมาไม่น้อยกว่า 1 ปี โดยผ่านการตรวจสอบสถานภาพการสมรสจากสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง นอกจากนี้ผู้ยื่นคำขอและคู่สมรสจะต้องไม่จดทะเบียนสมรสโดยปกปิดข้อเท็จจริง โดยผ่านการสัมภาษณ์เพื่อสอบถามเจตนารมณ์และสังเกตพฤติการณ์ของคู่สมรส ดังนี้
8.1 กรณีผู้ยื่นคำขอที่มีภูมิลำเนาในกรุงเทพฯ ให้ผ่านการสัมภาษณ์จากคณะอนุกรรมการกลั่นกรองการขอแปลงสัญชาติเป็นไทย การขอถือสัญชาติไทยตามสามี และการขอกลับคืนสัญชาติไทย ตามคำสั่งคณะกรรมการกลั่นกรองเกี่ยวกับสัญชาติ
8.2 กรณีผู้ยื่นคำขอที่มีภูมิลำเนาในต่างจังหวัดให้ผ่านการสัมภาษณ์จากคณะทำงานสัมภาษณ์ สังเกตพฤติการณ์ และทดสอบความรู้ภาษาไทยแก่ผู้ยื่นคำขอที่มีภูมิลำเนาในต่างจังหวัด ตามคำสั่งคณะอนุกรรมการกลั่นกรอง การขอแปลงสัญชาติเป็นไทย การขอถือสัญชาติไทยตามสามีและการขอกลับคืนสัญชาติไทย
9. เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้เข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน (ท.ร.13หรือ ท.ร.14)
10. ผู้ยื่นคำขอจะต้องแสดงเอกสารที่ยื่นต่อสถานทูตหรือสถานกงสุลของประเทศที่ตนมีสัญชาติ และตั้งอยู่ในประเทศไทยอันเป็นการแสดงเจตนาของผู้ประสงค์จะขอแปลงสัญชาติเป็นไทยที่จะสละสัญชาติเดิม เมื่อได้รับอนุญาตให้แปลงสัญชาติเป็นไทยแล้ว
11. ผู้ยื่นคำขอต้องผ่านเกณฑ์การให้คะแนน รวมกันไม่น้อยกว่า 50คะแนน จึงจะได้รับการพิจารณา
12. เมื่อผู้ยื่นคำขอได้รับอนุญาตให้แปลงสัญชาติเป็นไทยแล้ว กรณีประเทศของผู้ยื่นคำขอมีสถานทูตหรือสถานกงสุลตั้งอยู่ในประเทศไทย ให้กระทรวงมหาดไทยแจ้งสถานทูตหรือสถานกงสุลแห่งประเทศของผู้ยื่นคำขอทราบเกี่ยวกับการได้สัญชาติไทย ส่วนกรณีประเทศของผู้ยื่นคำขอไม่มีสถานทูตหรือสถานกงสุลตั้งอยู่ในประเทศไทย ให้กระทรวงมหาดไทยแจ้งกระทรวงการต่างประเทศดำเนินการแจ้งไปยังประเทศของผู้ยื่นคำขอเกี่ยวกับการได้สัญชาติไทยดังกล่าว
กรณีการขอแปลงสัญชาติเป็นไทย ตามมาตรา 12 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551
1. มีความประพฤติดี โดยผ่านการตรวจสอบประวัติอาชญากรรม (พิมพ์ลายนิ้วมือ ส่งตรวจสอบ) พฤติการณ์ทางการเมือง ยาเสพติด และพฤติการณ์เกี่ยวกับความมั่นคงของชาติจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1.1 ตรวจสอบประวัติอาชญากรรม (โดยพิมพ์ลายนิ้วมือส่งตรวจสอบ) จากกองทะเบียนประวัติอาชญากร
1.2 ตรวจสอบพฤติการณ์บุคคลและทางการเมืองจากกองบัญชาการตำรวจสันติบาล
1.3 ตรวจสอบพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษจากกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
1.4 ตรวจสอบพฤติการณ์เกี่ยวกับความมั่นคงของชาติจากสำนักข่าวกรองแห่งชาติ
1.5 ตรวจสอบหมายจับจากกองการต่างประเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
2. หลักฐานสูติบัตรของบุตร พร้อมหลักฐานจากสถานพยาบาลที่เด็กนั้นเกิด
3. กรณีไม่อาจแสดงหลักฐาน ตามข้อ 2. ได้ ต้องแสดงเอกสารการตรวจสารพันธุกรรม (DNA) หรือการตรวจทางวิทยาศาสตร์อื่น ๆ ที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐ หรือสถาบันที่รัฐให้การรับรองซึ่งพิสูจน์ว่าเป็นบุตรจริง
4. เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้เข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง และมีชื่อในทะเบียนบ้าน (ท.ร.13 หรือ ท.ร.14)
5. เมื่อผู้ยื่นคำขอได้รับการอนุญาตให้แปลงสัญชาติเป็นไทยแล้ว กรณีของประเทศของผู้ยื่นคำขอมีสถานทูตหรือสถานกงสุลตั้งอยู่ในประเทศไทย ให้กระทรวงมหาดไทยแจ้งสถานทูตหรือสถานกงสุลแห่งประเทศของผู้ยื่นคำขอทราบเกี่ยวกับการได้สัญชาติไทย ส่วนกรณีประเทศของผู้ยื่นคำขอไม่มีสถานทูตหรือสถานกงสุลตั้งอยู่ในประเทศไทย ให้กระทรวงมหาดไทยแจ้งกระทรวงการต่างประเทศดำเนินการแจ้งไปยังประเทศของผู้ยื่นคำขอเกี่ยวกับการได้สัญชาติไทยดังกล่าว