การรับแจ้งการเกิด กรณีการแจ้งสำนักทะเบียนอื่น

สถานที่ติดต่อ

สำนักทะเบียนแห่งท้องที่ที่บิดา มารดา หรือผู้ปกครองโดยชอบด้วยกฎหมาย ของเด็กที่เกิดมีชื่อในทะเบียนบ้าน

เอกสาร/หลักฐานที่ใช้

1. บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง และบัตรประจำตัวประชาชนบิดา มารดา (ถ้ามี)
ฉบับจริง 1 ฉบับ
2. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน ท.ร.14
ฉบับจริง 1 ฉบับ
หมายเหตุ (ที่ปรากฎชื่อบิดา มารดา หรือผู้ปกครองที่ชอบด้วยกฎหมายของเด็กที่เกิด)
3. หนังสือรับรองการเกิด ท.ร. 1/1 ที่ออกโดยโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล  หรือผลตรวจสารพันธุ์กรรม (DNA)
ฉบับจริง 1 ฉบับ
หมายเหตุ (ผลตรวจสารพันธุกรรม (DNA) ที่ตรวจพิสูจน์จากหน่วยงานของรัฐ หรือสถาบันที่น่าเชื่อถือ ซึ่งแสดงความสัมพันธ์การเป็นบิดามารดาของเด็กที่เกิด)
4. หนังสือมอบหมาย
ฉบับจริง 1 ฉบับ
หมายเหตุ (กรณีมอบหมายให้บุคคลอื่นแจ้งแทน)
5. บัตรประจำตัวประชาชน
ฉบับจริง 1 ฉบับ
หมายเหตุ (ของพยานบุคคลที่มาให้ถ้อยคำ อย่างน้อย 2 คน)

ค่าธรรมเนียม

20 บาท

ระยะเวลา

20 นาที

หมายเหตุ

1. ผู้แจ้งได้แก่ บิดา หรือมารดา หรือผู้ปกครองโดยชอบด้วยกฎหมายของเด็กที่เกิด หรือผู้ได้รับมอบหมายจากบิดา มารดาหรือผู้ปกครอง
2. ระยะเวลาการแจ้ง ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่เด็กเกิด
3. เงื่อนไข
(1) กรณีมีเหตุอันควรสงสัยว่าการแจ้งเป็นไปโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ระเบียบ หรือโดยอำพราง หรือโดยมีรายการข้อความผิดจากความเป็นจริง ให้นายทะเบียนดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง สอบสวนพยานบุคคล พยานแวดล้อม และพิจารณาให้แล้วเสร็จ ภายใน 15วัน
(2) กรณีที่มีความซับซ้อนหรือข้อสงสัยในแนวทางการปฏิบัติ ข้อกฎหมาย หรือการตรวจสอบเอกสารสำคัญ ต้องดำเนินการหารือมายังสำนักทะเบียนกลาง ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน (ทั้งนี้ การหารือต้องส่งให้สำนักทะเบียนกลาง ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่รับเรื่อง) โดยส่งผ่านสำนักทะเบียนจังหวัด เพื่อส่งให้สำนักทะเบียนกลาง เพื่อตอบข้อหารือดังกล่าวต่อไป