อธิบดีกรมการปกครอง ร่วมคณะกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงศึกษาธิการลงพื้นที่ติดตามการขับเคลื่อนนโยบายสำคัญของรัฐบาลในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ
11 มีนาคม 2567
อธิบดีกรมการปกครอง ร่วมคณะกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงศึกษาธิการลงพื้นที่ติดตามการขับเคลื่อนนโยบายสำคัญของรัฐบาลในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ
วันที่ 8 มีนาคม 2567 เวลา 10:00 น. ณ หอประชุมทีปังกรรัศมีโชติ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และพลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ตรวจติดตามการขับเคลื่อนนโยบายสำคัญของรัฐบาลในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ โดยมี นายอนุพงศ์ สุขสมนิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวต้อนรับ และมี นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ อธิบดีกรมการปกครอง นายพรพจน์ เพ็ญพาส อธิบดีกรมที่ดิน นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง ผู้บริหารจังหวัดศรีสะเกษ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อสม. ภาคีเครือข่ายชาวจังหวัดศรีสะเกษ และประชาชนชาวจังหวัดศรีสะเกษ เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวอย่างคับคั่ง
โดยได้เยี่ยมชมนิทรรศการผลการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาล และความสำเร็จของการดำเนินงานของกระทรวงศึกษาธิการ ชมวิดิทัศน์ผลการดำเนินงานการขับเคลื่อนนโยบายสำคัญรัฐบาลและภารกิจสำคัญของกระทรวงมหาดไทย
ต่อมารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้มอบนโยบายสำคัญของรัฐบาล และนโยบายสำคัญของกระทรวงมหาดไทย ให้แก่หัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสากิจ ผู้บริหารสถานศึกษาผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อสม. และพบปะประชาชนจังหวัดศรีสะเกษ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องดังต่อไปนี้
1. การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ เน้นย้ำให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องตามกลไกที่วางไว้ โดยเฉพาะ “โครงการตลาดนัดแก้หนี้”
2. การจัดระเบียบสังคมและการปราบปรามผู้มีธิพล ต้องเฝ้าระวัง หาข่าว สอดส่องพฤติกรรมบุคคล/กลุ่มบุคคลในพื้นที่ ห้ามมิให้มีการรังแกประชาชน ถ้าเกิดข้อร้องเรียนให้เร่งตรวจสอบ
3. การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ผนึกกำลังภาคีเครือข่ายในพื้นที่ ร่วมกันลด Demand และ Supply ของยาเสพติด โดยใช้กระบวนการการมีส่วนร่วมของหมู่บ้าน/ชุมชน ในการสร้างภูมิคุ้มกันและเฝ้าระวังยาเสพติด
4. การเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งในปี 2567 จัดทำแผนเผชิญเหตุภัยแล้งให้สอดคล้องกับเหมาะสมกับสถานการณ์ในพื้นที่ นำข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัยมาใช้ประกอบในการจัดทำแผน
5. การพัฒนาคุณภาพชีวิตและแก้ไขปัญหาความยากจน ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก การผลิต การตลาด และการจำหน่าย โดยนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาปรับใช้ เพื่อเพิ่มรายได้การพัฒนาและผลิตภัณฑ์ชุมชนตามอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของพื้นที่